วิชาสังคมศึกษา
(หลักสูตรท้องถิ่น)ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554
วีดีโออำเภอวังทอง
อำเภอวังทอง
ป้ายกำกับ:
อำเภอวังทอง
ตำแหน่ง:
อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ประเทศไทย
อำเภอวัดโบสถ์
อำเภอวัดโบสถ์
อำเภอวัดโบสถ์ เป็นอำเภอหนึ่ง 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก เดิมเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอพรหมพิราม และวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2491 ได้ยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ ต่อมาเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2499 ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอ
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอวัดโบสถ์มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอพิชัย อำเภอทองแสนขัน (จังหวัดอุตรดิตถ์) และอำเภอชาติตระการ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอชาติตระการและอำเภอวังทอง
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองพิษณุโลก
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพรหมพิราม
อำเภอวัดโบสถ์แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล 61 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | วัดโบสถ์ | (Wat Bot) | 10 หมู่บ้าน | |||||
2. | ท่างาม | (Tha Ngam) | 13 หมู่บ้าน | |||||
3. | ท้อแท้ | (Thothae) | 8 หมู่บ้าน | |||||
4. | บ้านยาง | (Ban Yang) | 11 หมู่บ้าน | |||||
5. | หินลาด | (Hin Lat) | 9 หมู่บ้าน | |||||
6. | คันโช้ง | (Khan Chong) | 10 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอวัดโบสถ์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลวัดโบสถ์ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลวัดโบสถ์ ตำบลท่างาม และตำบลท้อแท้
- องค์การบริหารส่วนตำบลวัดโบสถ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดโบสถ์ (นอกเขตเทศบาลตำบลวัดโบสถ์)
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่างาม (นอกเขตเทศบาลตำบลวัดโบสถ์)
- องค์การบริหารส่วนตำบลท้อแท้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท้อแท้ (นอกเขตเทศบาลตำบลวัดโบสถ์)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านยางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหินลาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหินลาดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคันโช้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคันโช้งทั้ง
แหล่งข้อมูลอื่น
อำเภอวัดโบสถ์ มีปูเจ้าฟ้า ซึ่งเป็นปูหายากชนิดหนึ่งในเมืองไทย
สถานที่ท่องเที่ยว
- อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว
- เขตห้ามล่าสัตว์ เขาน้อย - เขาประดู่
- เขื่อนแควน้อย
- นมัสการพระบรมสารีริกธาตุ วัดเสนาสน์
- ดื่มน้ำตาลสดวัดโบสถ์
- ชิมมะม่วงแช่อิ่ม
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก
พระอารามหลวง ชั้นเอก ขนิดวรมหาวิหาร
ทุก ๆ ปี จะมีงานนมัสการพระพุทธชินราชในวันขึ้น 6 ค่ำ ถึงวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 3 (ประมาณปลายเดือนมกราคม) เรียกว่า “งานวัดใหญ่” ทางเข้าพระวิหารด้านหน้ามีบานประตูขนาดใหญ่ประดับมุกสวยงาม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2299 เป็นฝีมือช่างหลวงสมัยอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมโกศ
บริเวณหลังวิหารพระพุทธชินราช มีพระอัฏฐารส ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติสูง 18 ศอก สร้างในสมัยเดียวกับพระพุทธชินราช ราว พ.ศ.1800 เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารใหญ่แต่วิหารได้พังไปจนหมด เหลือเพียงเสาที่ก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ 3 – 4 ต้น เรียกว่า “เนินวิหารเก้าห้อง”
ด้านหลังพระอัฏฐารส เป็นพระปรางค์ประธาน สร้างแบบสมัยอยุธยาตอนต้น ฐานย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบ สันนิษฐานว่าเดิมเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ดอกบัวตูม) ซึ่งถือว่าเป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยแท้ ต่อมาถูกแปลงให้เป็นพระปรางค์ในสมัยอยุธยา
นอกจากนี้ยังมี “พระเหลือ” ซึ่งพระยาลิไทรับสั่งให้ช่างนำเศษทองสัมฤทธิ์ที่เหลือจากการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดามารวมกันหล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดเล็ก และพระสาวกยืนอีก 2 องค์ ประดิษฐานในวิหารน้อย เรียกยกว่า “วิหารพระเหลือ”
รูปพระพุทธชินราช
พระอัฏฐารส
โบสถ์พระเหลือ
พระเหลือ
จังหวัดพิษณุโลก
พิษณุโลก เป็นจังหวัดใหญ่ อยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 377 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 10,815.854 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศมีภูเขาและที่ราบสลับป่าไม้ในเขตตะวันออก นอกนั้นเป็นที่ราบลุ่มอยู่โดยทั่วไป และมีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน 2 สาย คือ แม่น้ำน่าน และแม่น้ำยม |
ประวัติและความเป็นมา |
พิษณุโลก เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สร้างเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 สมัยขอมมีอำนาจปกครองแถบนี้ แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า “เมืองสองแคว” เนื่องจากเมืองนี้ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำน่าน และแม่น้ำแควน้อย (ที่ตั้งของวัดจุฬามณีในปัจจุบัน) ในสมัยสุโขทัย ครั้งสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท ได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองสองแควมาตั้งอยู่ ณ ที่ปัจจุบัน เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1900 และยังเรียกว่าเมืองสองแควเรื่อยมา ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นพิษณุโลกในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชกาลของสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ เมื่อครั้งที่เสด็จมาประทับเมืองสองแควตั้งแต่ พ.ศ. 2006 จนสิ้นรัชกาลในปี พ.ศ. 2031 |
เมืองพิษณุโลก มีฐานะเป็นราชธานีแทนกรุงศรีอยุธยานานถึง 25 ปี ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ และเป็นเมืองลูกหลวง ซึ่งกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาส่งมหาอุปราช หรือพระราชโอรสมาครองเมือง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ก็ทรงมีราชสมภพ ณ เมืองนี้ และได้ทรงครองเมืองนี้เช่นกัน |
ในสมัยรัตนโกสินทร์ พิษณุโลกยังคงเป็นเมืองเอกขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ เรื่อยมา ครั้นถึงปี พ.ศ. 2437 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะเมืองพิษณุโลกขึ้นเป็นมณฑลเรียกว่า มณฑลพิษณุโลก ต่อมาเมื่อยกเลิกการปกครองแบบมณฑลแล้ว พิษณุโลกจึงมีฐานะเป็นจังหวัดเรื่อยมาจนปัจจุบัน |
อาณาเขตและการปกครอง |
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดอุตรดิตถ์และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดพิจิตร ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดเลย ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดกำแพงเพชร |
พิษณุโลก แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอคือ อำเภอเมือง อำเภอวังทอง อำเภอพรหมพิราม อำเภอบางระกำ อำเภอบางกระทุ่ม อำเภอนครไทย อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอชาติตระการ อำเภอเนินมะปราง |
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอต่างๆ |
อำเภอนครไทย 97 กิโลเมตร อำเภอชาติตระการ 136 กิโลเมตร อำเภอบางระกำ 17 กิโลเมตร อำเภอบางกระทุ่ม 35 กิโลเมตร อำเภอพรหมพิราม 40 กิโลเมตร อำเภอวัดโบสถ์ 30 กิโลเมตร อำเภอวังทอง 17 กิโลเมตร อำเภอเนินมะปราง 75 กิโลเมตร อำเภอเมืองพิษณุโลก |
แนะนำโรงเรียนวัดโบสถ์
โรงเรียนวัดโบสถ์ ตั้งอยู่ที่หมู่ 7 ต.วัดโบสถ์ อ.วัดโบสถ์ สอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่3
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)