วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Human Journey - สู่ยุโรป1

คลิปวีดีโอลัดเลาะเอเชีย

วีดีโออำเภอพรหมพิราม

วีดีโออำเภอเมืองพิษณุโลก

วีดีโออำเภอชาติตระการ

วีดีโออำเภอบางกระทุ่ม

วีดีโออำเภอนครไทย

วีดีโออำเภอเนินมะปราง

วีดีโออำเภอบางระกำ

สุนัขบางแก้ว



วีดีโออำเภอวังทอง

อำเภอวังทอง

วีดีโออำเภอวัดโบสถ์

อำเภอวัดโบสถ์

 อำเภอวัดโบสถ์


อำเภอวัดโบสถ์ เป็นอำเภอหนึ่ง 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก เดิมเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอพรหมพิราม และวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2491 ได้ยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ ต่อมาเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2499 ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอ

ที่ตั้งและอาณาเขต

 อำเภอวัดโบสถ์มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

 การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอวัดโบสถ์แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล 61 หมู่บ้าน ได้แก่
1. วัดโบสถ์

(Wat Bot)

10 หมู่บ้าน
2. ท่างาม

(Tha Ngam)

13 หมู่บ้าน
3. ท้อแท้

(Thothae)

8 หมู่บ้าน
4. บ้านยาง

(Ban Yang)

11 หมู่บ้าน
5. หินลาด

(Hin Lat)

9 หมู่บ้าน
6. คันโช้ง

(Khan Chong)

10 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

 

ท้องที่อำเภอวัดโบสถ์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
  • เทศบาลตำบลวัดโบสถ์ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลวัดโบสถ์ ตำบลท่างาม และตำบลท้อแท้
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัดโบสถ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดโบสถ์ (นอกเขตเทศบาลตำบลวัดโบสถ์)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่างาม (นอกเขตเทศบาลตำบลวัดโบสถ์)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท้อแท้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท้อแท้ (นอกเขตเทศบาลตำบลวัดโบสถ์)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านยางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหินลาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหินลาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคันโช้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคันโช้งทั้ง

แหล่งข้อมูลอื่น

 อำเภอวัดโบสถ์ มีปูเจ้าฟ้า ซึ่งเป็นปูหายากชนิดหนึ่งในเมืองไทย

 

สถานที่ท่องเที่ยว

  1. อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว
  2. เขตห้ามล่าสัตว์ เขาน้อย - เขาประดู่
  3. เขื่อนแควน้อย
  4. นมัสการพระบรมสารีริกธาตุ วัดเสนาสน์
  5. ดื่มน้ำตาลสดวัดโบสถ์
  6. ชิมมะม่วงแช่อิ่ม

 

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก
พระอารามหลวง ชั้นเอก ขนิดวรมหาวิหาร  

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) ตั้งอยู่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดพิษณุโลก เป็นวัดสำคัญที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก ริมถนนพุทธบูชา เป็นวัดหลวงชั้นเอก “วรมหาวิหาร”

ภายในวิหารของวัดเป็นที่ประดิษฐาน “พระพุทธชินราช” หรือที่ชาวเมืองพิษณุโลกเรียกว่า “หลวงพ่อใหญ่” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) โปรดให้สร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดสุทัศนเทพวราราม และพระศรีศาสดาซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร    พุทธลักษณะของพระพุทธชินราชนั้นสวยงามมาก เส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระขนงโก่ง พระเกตุมาลาเป็นเปลวเพลิง พระหัตถ์มีปลายนิ้วทั้งสี่เสมอกัน ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษเรียกว่า ทีฒงฺคุลี ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในโลก มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาชมและสักการบูชาพระพุทธชินราชเป็นจำนวนมาก
   ทุก ๆ ปี จะมีงานนมัสการพระพุทธชินราชในวันขึ้น 6 ค่ำ ถึงวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 3 (ประมาณปลายเดือนมกราคม) เรียกว่า “งานวัดใหญ่” ทางเข้าพระวิหารด้านหน้ามีบานประตูขนาดใหญ่ประดับมุกสวยงาม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2299 เป็นฝีมือช่างหลวงสมัยอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมโกศ
บริเวณหลังวิหารพระพุทธชินราช มีพระอัฏฐารส ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติสูง 18 ศอก สร้างในสมัยเดียวกับพระพุทธชินราช ราว พ.ศ.1800 เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารใหญ่แต่วิหารได้พังไปจนหมด เหลือเพียงเสาที่ก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ 3 – 4 ต้น เรียกว่า “เนินวิหารเก้าห้อง”
   ด้านหลังพระอัฏฐารส เป็นพระปรางค์ประธาน สร้างแบบสมัยอยุธยาตอนต้น ฐานย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบ สันนิษฐานว่าเดิมเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ดอกบัวตูม) ซึ่งถือว่าเป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยแท้ ต่อมาถูกแปลงให้เป็นพระปรางค์ในสมัยอยุธยา
   นอกจากนี้ยังมี “พระเหลือ” ซึ่งพระยาลิไทรับสั่งให้ช่างนำเศษทองสัมฤทธิ์ที่เหลือจากการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดามารวมกันหล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดเล็ก และพระสาวกยืนอีก 2 องค์ ประดิษฐานในวิหารน้อย เรียกยกว่า “วิหารพระเหลือ”
 รูปพระพุทธชินราช


พระอัฏฐารส


 โบสถ์พระเหลือ
พระเหลือ

จังหวัดพิษณุโลก




พิษณุโลก เป็นจังหวัดใหญ่ อยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 377 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 10,815.854 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศมีภูเขาและที่ราบสลับป่าไม้ในเขตตะวันออก นอกนั้นเป็นที่ราบลุ่มอยู่โดยทั่วไป และมีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน 2 สาย คือ แม่น้ำน่าน และแม่น้ำยม
ประวัติและความเป็นมา
พิษณุโลก เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สร้างเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 สมัยขอมมีอำนาจปกครองแถบนี้ แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า “เมืองสองแคว” เนื่องจากเมืองนี้ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำน่าน และแม่น้ำแควน้อย (ที่ตั้งของวัดจุฬามณีในปัจจุบัน) ในสมัยสุโขทัย ครั้งสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท ได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองสองแควมาตั้งอยู่ ณ ที่ปัจจุบัน เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1900 และยังเรียกว่าเมืองสองแควเรื่อยมา ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นพิษณุโลกในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชกาลของสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ เมื่อครั้งที่เสด็จมาประทับเมืองสองแควตั้งแต่ พ.ศ. 2006 จนสิ้นรัชกาลในปี พ.ศ. 2031
เมืองพิษณุโลก มีฐานะเป็นราชธานีแทนกรุงศรีอยุธยานานถึง 25 ปี ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ และเป็นเมืองลูกหลวง ซึ่งกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาส่งมหาอุปราช หรือพระราชโอรสมาครองเมือง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ก็ทรงมีราชสมภพ ณ เมืองนี้ และได้ทรงครองเมืองนี้เช่นกัน
ในสมัยรัตนโกสินทร์ พิษณุโลกยังคงเป็นเมืองเอกขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ เรื่อยมา ครั้นถึงปี พ.ศ. 2437 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะเมืองพิษณุโลกขึ้นเป็นมณฑลเรียกว่า มณฑลพิษณุโลก ต่อมาเมื่อยกเลิกการปกครองแบบมณฑลแล้ว พิษณุโลกจึงมีฐานะเป็นจังหวัดเรื่อยมาจนปัจจุบัน
อาณาเขตและการปกครอง
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดอุตรดิตถ์และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดพิจิตร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดเลย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดกำแพงเพชร
พิษณุโลก แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอคือ อำเภอเมือง อำเภอวังทอง อำเภอพรหมพิราม อำเภอบางระกำ อำเภอบางกระทุ่ม อำเภอนครไทย อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอชาติตระการ อำเภอเนินมะปราง
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอต่างๆ
อำเภอนครไทย 97 กิโลเมตร
อำเภอชาติตระการ 136 กิโลเมตร
อำเภอบางระกำ 17 กิโลเมตร
อำเภอบางกระทุ่ม 35 กิโลเมตร
อำเภอพรหมพิราม 40 กิโลเมตร
อำเภอวัดโบสถ์ 30 กิโลเมตร
อำเภอวังทอง 17 กิโลเมตร
อำเภอเนินมะปราง 75 กิโลเมตร
อำเภอเมืองพิษณุโลก

แนะนำโรงเรียนวัดโบสถ์

โรงเรียนวัดโบสถ์  ตั้งอยู่ที่หมู่ 7 ต.วัดโบสถ์  อ.วัดโบสถ์  สอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่3